ทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม
จากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารเคมี รังสี ไวรัส พยาธิบางชนิด ตลอดจนความไม่สมดุลทางภาวะโภชนาการ
จากการศึกษาพบว่า อาหารมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งได้ประมาณ 30 - 50% แต่ในขณะเดียวกัน อาหารบางประเภทก็มีคุณสมบัติในการป้องกันมะเร็งได้ ดังนั้นการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ จึงเป็นทางหนึ่งที่สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้
อาหารที่มีคุณสมบัติป้องกันมะเร็ง
- อาหารที่มีกากมาก ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญญพืชต่างๆ
- อาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ที่มีสีเหลืองสด หรือ สีส้ม เช้น ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก แตงโม แครอท และผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ และผักขม เป็นต้น
- อาหารที่มีไวตามินซีสูง ได้แก่ ผักสด และผลไม้ เช่น ฝรั่ง ส้ม ขนุน และมะละกอสุก
- ผักตระกูลกระหล่ำ ได้แก่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า และบร็อกโคลี่
- เครื่องเทศต่างๆ ได้แก่ กระเทียม ขมิ้น
อาหารที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
- อาหารที่มีราขึ้น โดยเฉพาะราสีเขียว สีเหลือง
- อาหารไขมันสูง
- อาหารเค็มจัด และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือดินประสิว
- ส่วนไหม้เกรียมของเนื้อสัตว์ ปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน
- อาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบๆ เช่น ปลาขาว ปลาตะเพียน
- ไม่สูบบุหรี่
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เลือกอาหารที่มีพืชหลากหลายชนิด เป็นองค์ประกอบหลัก
- จำกัดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีสีแดง
- เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ
- จำกัดอาหารเค็ม
- ไม่กินอาหารที่ไหม้เกรียมบ่อยๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ดูแลน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ตรวจเช็กสุขภาพสม่ำเสมอ
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น