กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน

“กันไว้ดีกว่าแก้  ปล่อยให้แย่แล้วแก้ไม่ทัน”
การดูแลสุขภาพแนวใหม่ด้วยแนวคิดด้าน “เวชศาสตร์ป้องกัน (Preventive Medicine)
เวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging Medicine) และ Functional Medicine”

“สุขภาพของท่านจัดอยู่ในประเภทใด?”
  ก. สุขภาพดี...แต่ไม่รู้ว่าจะคงสภาพนี้อยู่นานเท่าไหร่   หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เพิ่มความมีชีวิตชีวา (Vitality) ไปนานๆ และเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียสมดุลอันนำมาสู่การเกิดโรคหรืออาการผิดปกติขึ้น หรือที่เรียกว่า การป้องกันแบบปฐมภูมิ-Primary Prevention)

 ข. ไม่ป่วยเป็นโรค แต่เริ่มมีอาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ปวดโน่น ปวดนี่ นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่ลึก ตื่นบ่อย ตื่นมาไม่สดชื่น ไม่ค่อยมีเรี่ยวมีแรง เหนื่อยง่าย สมาธิไม่ดี ความจำแย่ลง เส้นผม ผิวพรรณไม่สดใส ท้องอืดท้องเฟ้อ ความรู้สึกทางเพศลดลง น้ำหนักเพิ่มง่าย แต่ลดยาก ฯลฯ อาจเคยไปตรวจเบื้องต้นแล้ว ผลทั่วไปก็ปกติ หรือผิดปกตินิดหน่อย ให้ดูอาการไปก่อน ยังไม่ต้องทำอะไร (...ถ้ามีการตรวจด้วยวิธีที่ละเอียด ทันสมัย สามารถทราบความผิดปกติภายในร่างกายแต่เนิ่นๆ  จะได้รีบเตรียมการป้องกัน ปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลสุขภาพเสียก่อนที่โรคร้ายจะถามหา ...อันนี้เรียกว่า การป้องกันแบบทุติยภูมิ-Secondary Prevention)

 ค. มีโรคประจำตัว รักษาอยู่ต่อเนื่อง แต่ไม่รู้ว่ามันจะทรุดลงไปอีกไหม ไม่รู้จะดีขึ้นเมื่อไหร่ (...ถ้ามีการดูแลรักษาอื่นเสริมที่อิงตามผลการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทันสมัย (ไม่ใช่ลองผิดลองถูก) ควบคู่กับการรักษาแบบมาตรฐาน แล้วทำให้ช่วยให้ทราบสถานะของโรคที่เป็นอยู่ ผสมผสานกับแนวทางการดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทำให้โรคที่เป็นอยู่ดีขึ้น ไม่ทรุดหนักซ้ำแล้วซ้ำอีก จนพิกลพิการ ก็น่าจะดีไม่น้อย...อันนี้เรียกว่า การป้องกันแบบตติยภูมิ-Tertiary Prevention)

จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าท่านจะอยู่ในกลุ่มสุขภาพดี เริ่มป่วย หรือป่วยเป็นโรคแล้ว การ “ป้องกัน” ก็ยังมีบทบาทสำคัญมากกว่ารอให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดโรคขึ้นแล้ว ต้องทนทุกข์ทรมาณ เสียทั้งเวลา เสียทั้งรายได้ เสียค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ดีไม่ดีอาจต้องพิกลพิการไปตลอดชีวิต เพื่อที่จะเข้าใจแนวโน้มสถานะ

สุขภาพที่แท้จริง ก็ต้องตอบ อีก 2 คำถาม ในร่างกายคุณมีอะไร “ขาด”หรือ “เกิน” ?

1.“ภาวะขาด”  อะไรบ้าง ที่ร่างกายต้องการ แต่มีไม่พอ หรือได้รับเข้าสู่ร่างกายน้อยไป หลักๆ ก็ได้แก่ สารอาหารต่างๆ รวมทั้งวิตามิน เกลือแร่ และฮอร์โมน

2. “ภาวะเกิน” อะไรบ้าง ที่ร่างกายไม่ต้องการ หรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่เราได้รับเข้าไปและทำร้ายร่างกายเราอยู่ทุกวันๆ เช่น สารพิษ โลหะหนัก สารก่อภูมิแพ้ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและอาหารการกิน เป็นต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่า “ขาด” หรือ “เกิน”  การตรวจวิเคราะห์ชนิดพิเศษ 
 การตรวจเลือด ปัสสาวะหรือการตรวจน้ำลายเพียงครั้งเดียว  สามารถบอกถึงภาวะความสมดุลของ
• ความสมดุลของสารอาหารสำคัญรวมถึงวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการเผาผลาญและสร้างพลังงานในระดับเซลล์ (Nutritional tests)
• สารพิษตกค้างในร่างกาย เช่น โลหะหนักต่างๆ (Toxic elements/Heavy metals)
• ความสามารถตับในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย (Liver detoxification profile)
• ระดับของสารอนุมูลอิสระที่คอยทำร้ายร่างกายของเรา และเป็นสาเหตุสำคัญของความชรา และโรคเรื้อรังต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถบอกระดับของสารต้านอนุมูลอิสระที่คอยปกป้องร่างกายของเราอีกด้วย (Free radical and Ant-oxidant)
• ระดับของสารสื่อประสาทและฮอร์โมนต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานร่างกาย (Neurotransmitter & Hormone metabolites)
• ความสมดุลของแบคทีเรียในทางเดินอาหาร ชนิดที่เป็นประโยชน์ และชนิดที่เป็นโทษต่อร่างกาย (Bacterial dysbiosis markers)
• การตรวจอุจจาระ ที่สามารถบอกตั้งแต่ระบบการย่อยอาหาร การทำงานของเอนไซม์และน้ำย่อยต่างๆ การดูดซึมอาหาร ความสมดุลของแบคทีเรียชนิดที่เป็นประโยชน์และชนิดที่เกิดโทษต่อร่างกาย (Comprehensive Digestive Stool Analysis; CDSA)
• การตรวจสารพันธุกรรม (Gene testing) ที่สามารถทำนายความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน โอกาสแพ้ยาบางชนิด เพื่อเป็นแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระมัดระวัง ดูแลสุขภาพ ก่อนที่จะเกิดความเจ็บป่วยขึ้น
รู้แล้ว จะแก้ไข ดูแลรักษาอย่างไร?
• การวิเคราห์หาสาเหตุของโรคและรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดโรค (Root cause of the illness)
• “ขาด” ก็ “เติม-Replace and Restore normal function”
• “เกิน” ก็ “ตัดออก-Remove causes”
• ให้ความสำคัญกับเรื่องราวความเจ็บป่วยเฉียบพลัน ณ ขณะนั้น และความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะนั้นๆ (Disease-care) แต่ก็ไม่ละเลยที่จะพิจารณาระบบการทำงานอื่นๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้อง และให้ความสำคัญกับเรื่องราวอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องความเจ็บป่วยเฉียบพลันและความเจ็บป่วยเรื้อรัง (Patient-care)
• ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น (Promotion of organ function and reserve) มากกว่าการรักษาเพื่อกดการทำงานของอวัยวะ เพื่อควบคุมอาการ (“lock down” and control physiology) ซึ่งได้ผลดีในระยะสั้น แต่กลับไม่เป็นผลดีในระยะยาว
• ความเป็นปัจเจกบุคคล (Personalized Medicine): มองผู้ป่วยแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านพันธุกรรม (Genetic) ชีวเคมี   (Biochemical Individuality) ระบบการทำงานของร่างกายและวิถีชีวิต ซึ่งจะตอบสนองต่อการรักษาต่างกัน จึงเป็นที่มาของการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยยา และอาหารเสริมที่จำเพาะบุคคลจริงๆ (Customized Pharmacy and dietary supplement)
• การดูแลสุขภาพระยะยาวนั้น แพทย์เป็นเสมือนโค้ช ที่ช่วยวิเคราะห์หาส่วนขาด ส่วนเกินในร่างกายและวางแผนการดูแลผสมผสานและต่อเนื่อง ส่วนผู้ป่วยก็เป็นเสมือนนักกีฬา ที่ต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงวิถีชีวิตเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และต่อเนื่อง (The patient becomes a partner)

ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น